ยิ่งฉลาด ...ยิ่งทุกข์ - ครูเต้ แพทย์จุฬา

ยิ่ง ฉลาด  ยิ่ง ทุกข์ จริง หรือ ?

 

   เมื่อย้อนเวลาที่พี่อยู่ประมาณชั้นอนุบาลหรือชั้นประถมศึกษา   ช่วงนั้นการแข่งขันทางวิชาการยังมีน้อยและไม่เป็นที่สนใจมาก  การตื่นตัว  การเรียนพิเศษเกี่ยวกับเรื่องเรียนเพื่อสอบแข่งชิงรางวัลก็ยังไม่แพร่หลาย   มาถึงตอนนี้  บางครั้งพี่ก็รู้สึกเสียดายโอกาสที่จะสามมารถพัฒนาความรู้ความสามารถตัวเอง  แต่อีกใจหนึ่ง   พี่ก็รู้สึกเสียจังที่ตอนเด็กๆ  พี่ไม่ต้องแบกรับภาระการเรียนมากมาย ต้องผจญกับการแข่งขันต่างๆทำให้พี่ลืมความสนุกสนานตามวัยที่ควรจะเป็น

   คงปฏิเสธไม่ได้ว่า  สังคมไทยในปัจจุบันเป็ฯสังคมที่ให้คุณค่ากับความเก่ง   สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ  การแข่งขัน ลองนึกดูตั้งแต่ตอนเราเกิด  พ่อ-แม่  บางท่านแข่งกันหาอาหารดี  มีคุณค่าเพื่อไปบำรุงสมองลูกน้อยเพื่อที่ลูกจะได้ฉลาด  สมองดีเรียนรู้ได้ไว ต่อมา  ก็แข่งกันเข้าโรงเรียนอนุบาลที่จะให้ความรู้ลูกตัวเองอย่างเต็มที่   มีการจ้างครูพิเศษสอนที่บ้าน สามปีอนุบาลแทนที่จะมุ่งเตรียมความพร้อม  กลับกลายเป็นการติวเข้มเข้าประถมหนึ่ง  เมื่อเข้ามาเรียนได้แล้ว  ก็ต้องแข่งขันกันอีก  แข่งกับเพื่อน  จากเพื่อนร่วมห้องกลายเป็นคู่แข่ง  แข่งกันเก่ง  แล้วก็แข่งกันเข้ามหาวิทยาลัย  แข่งขันกันเรียน  แล้วก็แข่งขันกันทำอาชีพ   ใครเก่งใครได้ใครฉลาดใครรอด  ใครไวใครชนะ  ใครเก่งกว่าถือถือเป็นคู่แข่งที่ต้องห้ำหั่น  เอาชนะให้ได้ ใครเก่งน้อยกว่าถือเป็นม้านนอกสายตา  ไม่สมจะคบหาด้วย  สำหรับคนเก่งจึงไม่มีคำว่า  “ชื่นชม” สำหรับคนเก่งกว่าตน และไม่มีคำว่า  “ เห็นใจ ” สำหรับคนที่เก่งน้อยกว่า

   ลองนึกดูนะครับว่า   การที่เราชนะทุกคน  และเป็ฯที่  1  ได้  เราคิดว่าเราจะมีความสุขอยู่ตลอดไปหรือ  คนบางคนอ่านหนังสือเพื่อให้ได้คะแนน  คะแนนคือสิ่งที่ดีความว่าตนเก่ง  ตนฉลาด  ตนเด่นกว่า   ดีกว่าคนอื่น    บางคนเก่งคอมตัวแม่  บางคนเก่งวิชาการตัวพ่อ  แต่ถ้าน้ำท่วมโลก   ไฟฟ้าขาด   ถนนไม่เชื่อมต่อ   มีแต่ผืนดิน   คนที่ดำนาเกี่ยวข้าวกลับบกลายเป็นคที่วิเศษที่สุด  ความรู้จักพันแสน  บทเรียน  แต่ยามทุกข์หยิบมาใช้ดับทุกข์ไม่ได้แม้สักบรรทัดเดียว  มิสามารถเรียนคนเหล่านั้นว่า  ”บัณทิต”   ได้  เพราะบัณทิตนั้นต้องไม่เน้นจนลืมสุข  เอาแต่เรียน  จนลืมสนุกสนาน  เอาแต่คะแนน   จนลืมเพื่อน  เอาแต่สมองเป็นเลิศ จนลืมทักษะความสุนทรีย์  เอาแต่เด่น  จนลืมสังคม  เอาแต่ตัว  จนลืมใครอื่น  ต่อไปชีวิตของเขาอาจต้องโดดเดียวลำพัง

   ที่พี่พูดมา  ไม่ใช่บอกว่าห้ามแข่งขันหรือห้ามเก่ง  เพราะว่าในชีวิตจริงตามกฎธรรมชาติ  เราก็ต้องแข่งขันกันตั้งแต่ก่อนจะเป็นตัวอ่อน  sperm   หลายล้านตัวจะต้องแข่งขันเข้าไปปฏิสนธิกับไข่  แต่เราลองมาแข่งขันแบบเน้นความสุขควบคู่ไปกับการมีวินัยดีกว่าคือทำหน้าที่การเรียนไปด้วย  แต่หัวใจก็เปี่ยมล้นไปด้วยความสุข   บางครั้งอาจไม่ต้องเรียนจนเกินตัว   ไม่ต้องได้คะแนนเป็นที่หนึ่ง  ลองแบ่งปันหัวใจไปให้ตนเองและคนอื่นบ้าง   สำหรับคนอื่น   ลองมองคนที่เหนือกว่าเราอย่างชื่นชม มองคนที่ด้อยกว่าอย่างเห็นใจ  และปรารถนาที่จะให้เขาดีขึ้น   ในส่วนตนเอง    ลองหาสิ่งที่มาเติมเต็มความสุขให้ชีวิต บางคนชอบเล่นดนตรี บางคนชอบเล่นกีฬา เท่านี้แล้ว  เราก็จะกลายเป็นคนเก่งที่เปี่ยมไปด้วยความสุข   อย่าต้องทะเยอทะยานเพื่อประสบความสำเร็จ  แค่เป็นคนดีที่มีคุณค่าก็พอแล้ว

 

Try not to become a man of success but rather to become a man of value.

Albert Einstein  US (German-born) Physicist  1879-1955

 

ครูเต้  -  แพทย์ศาสตร์ ( จุฬาฯ )

ศิษย์เก่า และ อดีตครูสอนชีววิทยา

Visitors: 91,369